บำรุงหัวใจ / Nourish the heart


1. กระดังงา




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata

ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree

วงศ์ :   ANNONACEAE

ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน

สรรพคุณ :

ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ

ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ

วิธีใช้ :

ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย

การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl  benzoate p-totyl  methylether, methylether, benzyl acetate.


2. บัวบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Centella asiatica  Urban

ชื่อสามัญ :   Asiatic Pennywort, Tiger Herbal

วงศ์ :   Umbelliferae

ชื่ออื่น :   ผักแว่น ผักหนอก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้ 
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

สรรพคุณ :

ใบ  -   มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน

ทั้งต้นสด 
-  เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
-  รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด
-  ปวดศีรษะข้างเดียว
-  ขับปัสสาวะ
-  แก้เจ็บคอ
-  เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง
-  ลดความดัน แก้ช้ำใน

เมล็ด
-  แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน

ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ

เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน

ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน

เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน

เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว

สารเคมี :  สารสกัดจากใบบัวบกประกอบด้วย madecassoside asiatic acid, asiaticoside, centelloside, centellic acid brahminoside, brahmic acid.


3. บัวหลวง




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Nelumbo nucifera Gaertn.

ชื่อสามัญ :   Lotus

วงศ์ :   Nelumbonaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า "ฝักบัว" มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก

สรรพคุณ :
ดีบัว  -  มี Methylcorypalline ซึ่งเป็นตัวทำให้เส้นเลือดขยาย
ดอก, เกษรตัวผู้ - ขับปัสสาวะ ฝากสมาน ขับเสมหะ บำรุงหัวใจ เกษรปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง ทำให้ชื่นใจ ยาสงบประสาท ขับเสมหะ
เหง้าและเมล็ด - รสหวาน เย็น มันเล็กน้อย บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง
เมล็ดอ่อนและแก่ - เมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหาร และใช้ทำเป็นแป้งได้ดี
เหง้าบัวหลวง - ใช้ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวหวาน
ไส้ของของเมล็ด - แก้เส้นโลหิตตีบในหัวใจ
ยางจากก้านใบและก้านดอก - แก้ท้องเดิน
ราก - แก้เสมหะ
สารเคมี :
ดอก  มีอัลคาลอยด์ ชื่อ nelumbine
embryo  มี lotusine
เมล็ด  มี alkaloids และ beta-sitosterol



4. มะลิลา


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Jasminum Sambac (L.) Aiton

ชื่อสามัญ :  Arabian jasmine

วงศ์ :   OLEACEAE

ชื่ออื่น :  มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว 
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่

สรรพคุณ :
ใบ, ราก -  ทำยาหยอดตา
ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
สารเคมี :
ดอก  พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
ใบ  พบ  jasminin sambacin



5. ใบเตย



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Pandanus amaryllifolius  Roxb.

ชื่อสามัญ :   Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

วงศ์ :    Pandanaceae

ชื่ออื่น :   ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม 
ส่วนที่ใช้ :  ต้นและราก, ใบสด

สรรพคุณ :

ต้นและราก  
-  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

ใบสด
-  ตำพอกโรคผิวหนัง
-  รักษาโรคหืด
-  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น  
-  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม

ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน

ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin


6. พยอม


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Shorea roxburghii  G.Don

ชื่อสามัญ :   White Meranti

วงศ์ :   DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น :  กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น

สรรพคุณ :
ดอก  -  ผสมยาแก้ไข้ และยาหอม แก้ลม บำรุงหัวใจ
เปลือกต้น - สมานลำไส้ แก้ท้องเดิน มี Tannin มาก



7. พิกุล





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mimusops elengi  L.

ชื่อสามัญ :    Bullet wood

วงศ์ :    SAPOTACEAE

ชื่ออื่น :   พิกุลเขา กุล แก้ว ซางดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
ส่วนที่ใช้ :  ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ

สรรพคุณ :
ดอกสด - เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
ดอกแห้ง -  เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ
ผลสุก - รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก
เปลือก - ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
เมล็ด - ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
ใบ - ฆ่าพยาธิ
แก่นที่ราก - เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
กระพี้ -  แก้เกลื้อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น