กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม. ดอก ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล ใบ ดอก ผล เมล็ด
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแรงแต่อย่างใด
3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งแรงได้ดี
5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่
ใบ - มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก - แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด - รสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี : สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa Wild.
ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ : ดอก ยาง ใบ เมล็ด
สรรพคุณ :
ดอก
- รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
- ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
- เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี
ยาง - ใช้แก้ท้องร่วง
ใบ
- ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
- แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง
เมล็ด
- ขับไส้เดือน
- บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ
รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้
สารเคมี - สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin (Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid, Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.
ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชผักสวนครัว เรียกว่าพืชล้มลุก ทรงพุ่ม
ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
ราก เก็บได้ตลอดปี ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด
สรรพคุณ :
ทั้งต้น
1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
ราก
1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา
ใบสด - มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ต้น - มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
-ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
- นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง
แก้อาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
- ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
- ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าทางด้านอาหาร :
ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สารเคมี :
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 % Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%
ทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่อสามัญ : Sunflower.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ส่วนที่ใช้ : แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก
สรรพคุณ :
แกนต้น - ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
ใบ, ดอก - แก้หลอดลมอักเสบ
ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ
ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1. แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
2. แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว และขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
3. แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30- 60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
4. แก้อาการมูกโลหิต ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
5. ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30 กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
6. แก้อาการปวดฟัน ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
7. โรคไอกรน ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
8. แก้อาการไอ ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
9. แก้อาการหูอื้อ ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10- 15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
10. ขับพยาธิไส้เดือน ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
11. แผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผล
สารเคมี : สารเคมีในใบ ถ้านำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%) มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ แบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน
สับปะรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่อสามัญ : Pineapple
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่ใช้ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด
สรรพคุณ :
ราก - แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
หนาม - แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
ใบสด - เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
ผลดิบ - ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
ผลสุก - ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
ไส้กลางสับปะรด - แก้ขัดเบา
เปลือก - ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
จุก - ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
แขนง - แก้โรคนิ่ว
ยอดอ่อนสับปะรด - แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี :
เหง้า มี Protein
ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase
ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol
ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone
น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น